ในเรื่องความด่างนั้น หลายๆท่านที่มักตั้งคำถามว่า ด่างนิ่งหรือเปล่า? บางครั้งผู้ได้ไม้มายังไม่เคยเลี้ยงก็ไม่สามารถบอกได้ 100% ส่วนท่านที่เคยเลี้ยงไม้ที่ได้ถูกตั้งคำถามก็สามารถรู้ได้ว่านิ่งหรือเปล่า เราลองดูว่าด่างนิ่งไม่นิ่งเป็นยังไงดีไหมครับ ลักษณะของต้นไม้จะนิ่งหรือไม่นิ่งน่าจะดูจากสิ่งเหล่านี้ครับ เริ่มต้นจากการแยกความด่างของต้นไม้ก่อนว่ามีมีความด่างอย่างไร หรือถ้าเรียกตามภาษาสากลเก๋ๆ คือ ไคมีร่า ครับ
แบบที่1 ด่างเผือก ด่างแบบนี้ค่อนข้างเลี้ยงยากแต่ตายง่ายครับ ใครมีความสามารถสูงลองปลูกเลี้ยงประเภทนี้ไว้ดูครับ (ไม้ปราบเซียน) เป็นไม้แทบจะไม่มีสีเขียวหรือ โครโรฟิว (ไม่รู้เขียนถูกเปล่า)
แบบที่ 2 ด่างแบบชัดเจนตัดกันแบบชัดๆ ด่างสุดปรารถณาของนักเก็บไม้เลยครับแบบนี้ จะด่างก็ด่างชัด ไม่ว่าจะด่างเผือก ด่างขาว ด่างเหลือง ด่างครีม แต่ที่แน่ๆ เห็นความแตกต่างแบบชัดเจนและสมดุลย์ ถ้าเจอไม้ตัวที่ไม่มีใครมี ละก็ หวงกันน่าดูเลยครับ
แบบที่ 3 เขียว ในเมื่อมีเผือกในต้นเดียวกันได้แล้ว แล้วมีด่างแบบชัดเจนได้ ความน่าจะเขียวก็ได้เช่นกันครับ และสิ่งนี้แหละครับ ที่ทำให้นักสะสมไม้หลายท่าน บางครั้งได้ไม้ด่างมา กลับเขียว นี่มั้งครับ ที่เรียกว่าไม่นิ่ง
แบบที่ 4 ด่างเป็นแถบ ด่างแบบนี้เป็นด่างที่สวยมากและสุดปรารถณาของนักสะสมมากครับ เนื่องจากความด่างของใบหรือต้นมีมากกว่าความเขียว ความชัดเจนจึงเพิ่มมากขึ้น
แบบที่ 5 ด่างตามขอบ เป็นด่างที่สวยอีกชนิดหนึ่งซึ่งจะมีความเขียวมากกว่าด่าง
แบบที่ 6 ด่างสองสี (ทูโทน) สองสีในที่นี้คือความแตกต่างของความด่างไม่ชัดเจนแต่พอเห็นได้ว่าด่าง ยกตัวอย่างคือ เขียวอ่อนตัดกับเขียวแก่เป็นต้น
ได้รับรู้มาพอสมควรแล้วนะครับ ลองพิจารณาดูครับว่าไม้ของท่าน นิ่งหรือไม่นิ่ง ท่านนั่นละครับจะให้คำตอบกับตัวท่านเอง เรียนรู้จากประสบการณ์ครับ (เรียนรู้จากการสังเกตุ)
วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2551
วันเสาร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
ลักษณะด่าง Full-collor variegated-plant
ถ้าจะพูดถึงความด่างของต้นไม้ด่างในเรื่องลักษณะแล้วละก็ คงจะมีความหลากหลายทีเดียวครับสมกับชื่อครับ(variegated) หรือจะเรียกว่า ร้อยแปดพันเก้าประเภทเลยก็ว่าได้ แต่โดยหลักๆที่เรียกกันก็ประเภท ด่างกลางใบ ด่างขอบใบ ด่างปลายใบ ด่างเส้นตามใบ หรือตามจินตนาการของผู้ได้พบเจอ ด่างลายเสือ ด่างลายเมฆ ด่างละอองดาว สารพัดจะเรียกครับ บางท่านกำหนดสีของด่างมาเรียกอย่างเช่น ด่างครีม ด่างทอง ด่างขาว ด่างชมพู ด่างเหลือง ด่างทูโทน ทั้งยังรวมไปถึงไม้ที่ด่างถึงลำต้น และดอกอีก ความหลากหลายหลายแบบหลายอย่างอย่างนี้ซิครับ ถึงได้เรียกว่า Full-collor variegated-plant ดังที่ได้จั่วหัวข้อไว้ครับ
วันศุกร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
ต้นไม้ด่าง-ไม้ประดับที่นิยมตลอดกาล
เรื่องของต้นไม้ด่าง(variegated plant) ไม้ประดับยอดนิยมตลอดกาล มีหลากหลายสกุล และหลากหลายสายพันธุ์ เรื่องของความด่างก็มีอยู่หลายชนิด มีทั้งเป็นไม้ที่เก็บไว้ในหมู่นักสะสม(plant-collector) รวมถึงไม้ประดับราคาถูก ซึ่งเป็นไม้เศรษฐกิจ (ปลูกเยอะๆมีจำนวน) เสน่ห์ของความเป็นไม้ด่างก็คือศิลปะของใบ ,ดอก,และกิ่งก้านของใบ และ ความหายาก (คุณค่าอยู่ที่ตรงนี้ครับ) ใครที่มีไม้ด่างที่หายากและมีคุณประโยชน์ในการใช้งาน ก็จะรู้สึกภูมิใจ(คนอื่นไม่มีแต่เรามี) ส่วนเรื่องที่มาของต้นไม้ด่างข้างต้น คงต้องใช้ความพยายามกันครับ ตั้งแต่ เสาะแสวงหากัน จากแหล่งผลิตกล้าไม้จำนวนมากพบได้โดยจากการสังเกตุ หรือ หาวิธีทำให้เกิดไม้ด่างโดยวิธีการต่างๆ นาๆ ทั้งที่แบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ ซึ่งวิธีการดั่งกล่าวข้างต้น ต้องใช้ความพยายามมากๆ ถ้าโชคดีก็ได้ต้นไม้ด่างมาด้วยความบังเอิญ (เฮง/ฟรุ๊ค/โชคดี) ด้วยสาเหตุนี้ จึงทำให้ต้นไม้ด่างเป็นไม้ประดับที่ให้ความนิยมตลอดกาล
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)