วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ด่างนิ่งไม่นิ่งสำคัญไฉน

ในเรื่องความด่างนั้น หลายๆท่านที่มักตั้งคำถามว่า ด่างนิ่งหรือเปล่า? บางครั้งผู้ได้ไม้มายังไม่เคยเลี้ยงก็ไม่สามารถบอกได้ 100% ส่วนท่านที่เคยเลี้ยงไม้ที่ได้ถูกตั้งคำถามก็สามารถรู้ได้ว่านิ่งหรือเปล่า เราลองดูว่าด่างนิ่งไม่นิ่งเป็นยังไงดีไหมครับ ลักษณะของต้นไม้จะนิ่งหรือไม่นิ่งน่าจะดูจากสิ่งเหล่านี้ครับ เริ่มต้นจากการแยกความด่างของต้นไม้ก่อนว่ามีมีความด่างอย่างไร หรือถ้าเรียกตามภาษาสากลเก๋ๆ คือ ไคมีร่า ครับ

แบบที่1 ด่างเผือก ด่างแบบนี้ค่อนข้างเลี้ยงยากแต่ตายง่ายครับ ใครมีความสามารถสูงลองปลูกเลี้ยงประเภทนี้ไว้ดูครับ (ไม้ปราบเซียน) เป็นไม้แทบจะไม่มีสีเขียวหรือ โครโรฟิว (ไม่รู้เขียนถูกเปล่า)

แบบที่ 2 ด่างแบบชัดเจนตัดกันแบบชัดๆ ด่างสุดปรารถณาของนักเก็บไม้เลยครับแบบนี้ จะด่างก็ด่างชัด ไม่ว่าจะด่างเผือก ด่างขาว ด่างเหลือง ด่างครีม แต่ที่แน่ๆ เห็นความแตกต่างแบบชัดเจนและสมดุลย์ ถ้าเจอไม้ตัวที่ไม่มีใครมี ละก็ หวงกันน่าดูเลยครับ

แบบที่ 3 เขียว ในเมื่อมีเผือกในต้นเดียวกันได้แล้ว แล้วมีด่างแบบชัดเจนได้ ความน่าจะเขียวก็ได้เช่นกันครับ และสิ่งนี้แหละครับ ที่ทำให้นักสะสมไม้หลายท่าน บางครั้งได้ไม้ด่างมา กลับเขียว นี่มั้งครับ ที่เรียกว่าไม่นิ่ง

แบบที่ 4 ด่างเป็นแถบ ด่างแบบนี้เป็นด่างที่สวยมากและสุดปรารถณาของนักสะสมมากครับ เนื่องจากความด่างของใบหรือต้นมีมากกว่าความเขียว ความชัดเจนจึงเพิ่มมากขึ้น

แบบที่ 5 ด่างตามขอบ เป็นด่างที่สวยอีกชนิดหนึ่งซึ่งจะมีความเขียวมากกว่าด่าง

แบบที่ 6 ด่างสองสี (ทูโทน) สองสีในที่นี้คือความแตกต่างของความด่างไม่ชัดเจนแต่พอเห็นได้ว่าด่าง ยกตัวอย่างคือ เขียวอ่อนตัดกับเขียวแก่เป็นต้น

ได้รับรู้มาพอสมควรแล้วนะครับ ลองพิจารณาดูครับว่าไม้ของท่าน นิ่งหรือไม่นิ่ง ท่านนั่นละครับจะให้คำตอบกับตัวท่านเอง เรียนรู้จากประสบการณ์ครับ (เรียนรู้จากการสังเกตุ)

1 ความคิดเห็น:

pgslot กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ